วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14 
วันพฤหัสบดี ที่ 30 เมษายน 2558


วันนี้เป็นวันที่สอบร้องเพลง  โดยอาจารย์เป็นคนจับเลขที่ของนักศึกษาและให้นักศึกษาจับฉลากเพลงและนำมาสอบร้องให้อาจารย์และเพื่อนๆ ฟังหน้าชั้นเรียน


 เพลงที่จับได้คือเพลง   อาบน้ำ ซู่ ซ่า





บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13
วัน อังคาร ที่ 21 เมษายน 2558



กิจกรรมที่ 1 ดิ่งพสุธา  กิจกรรมผ่อนคลายก่อนเข้าสู่บทเรียน





เนื้อหาที่เรียน => โปรมเเกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือแผน IEP
โปรเเกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized  Education  Program )     
                                                                                                                                                            แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสารถของเขา
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- ระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้เเผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
แผน IEP สร้างเเล้วต้องให้ผู้ปกครองดูก่อนและเซ็นอนุญาติก่อนที่จะนำมาใช้ เพราะเราจะต้องเอาไปใช้เป็นแผนการสอนกับลูกของผู้ปกครองคนนั้น   
                                                                                                                                                   การเขียนเเผน
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องครูว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหนในทักษะใด
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้แล้วจึงเริ่มเขียนเเผน IEP                                                                                                                                                                                          IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามรถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของเเผน
-วิธีการประเมินผล                                                                                                                                                                                                                                                                ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียน                                                                                                                                                                                                                       ประโยชน์ต่อครู
- เป็นเเนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นเเนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ                                                                                                                                                                                                                                            ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าลูกของตนเป็นอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง 
  และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน 

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคล 

1. การรวบรวมข้อมูล

- รายงานทางการแพทย์ 
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
- บันทึกจากผู้ปกครอง, ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง 

2. การจัดทำแผน

- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว และระยะสั้น 
- กำหนดโปรแกรม และกิจกรรม 
- จะต้องได้รับการรับรอง แผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 

การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาว >> กำหนดให้ชัดเจน กว้างๆ 
การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น >> ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก 
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ 
- จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

3. การใช้แผน

- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น 
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
- ต้องมีการสังเกตรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเด็ก โดยคำนึงถึง
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ 
2. ตัวชี้วัดพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก 
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็ก และผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล 

- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละ 1 ครั้ง กรือย่อยกว่านั้น  
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
กิจกรรมที่ 1เป็นกิจกรรมเกมทายใจเพื่อให้นักศึกษาผ่อนคลายความเครียดก่อนเข้าสู่บทเรียน

กิจกรรมที่ 2  กิจกรรมกลุ่ม >> อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกเพื่อน 1 คนเป็นเด็กพิเศษ ช่วยกันระดมความคิดในการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล


การนำไปประยุกต์ใช้
รู้จักการเขียนแผน IEP ที่ถูกต้อง และนำไปใช้ในอนาคต
รู้วิธีการหาข้อมูลในการเขียนแผน IEP ที่ถูกต้อง
การเขียนแผน IEP ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

การประเมิน
ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาและทำความเข้าใจกับเนื้อหา วิธีการเขียนแผน IEP ที่ถูกต้อง เพื่อนำไปใช้เขียนได้อย่างถูกต้อง
ประเมินเพื่อน   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายวิธีการเขียบแผน IEP  และจดบันทึกและทำความเข้าใจตามที่จด ให้ความร่วมมือในการเขียนแผนเป็นกลุ่ม
ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย อธิบายวิธีการเขียนแผน IEP ได้เข้าใจง่าย และสอนสนุกสนานมากคะ ทำให้ไม่เครียด ไม่กดดัน ว่ามันจะยาก




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12
วัน อังคาร ที่ 7 เมษายน 2558

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน  
** การเรียนรู้ทักษะต่างๆ เช่น ทักษะทางสังคม  ทักษะภาษา  ทักษะการช่วยเหลือตนเอง และทักษะพื้นฐานทางการเรียน จะเป็นทักษะเตรียมความพร้อมในการเขียนเเผน IEP       
                                                                                                                                                เป้าหมา                                                                                                                                     - การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
 - มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
 - เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้ "
 - พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
 - อยากสำรวจ อยากทดลอง                                                                                                                                
   ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่น
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
** 3-5 ขวบ ความสนใจของเด็กปกติประมาณ 10-15 นาที
** เด็กพิเศษจะมีช่วงความสนใจ 2-3 นาที                                                                                                                                                                                                                                          การเลียนเเบบ
เด็กชอบเลียนเเบบ
- พี่ 
- เพื่อน
- ครู                                                                                                                                                                                                                                                                                                 การทำตามคำสั่ง คำเเนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ึครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่                                                                                                                                                                                                                                                         การรับรู้  การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส   กลิ่น  =====>  ตอบสนองอย่างเหมาะสม


การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
-  การกรองน้ำ ตวงน้ำ
-  ต่อบล็อก
-  ศิลปะ
-  มุมบ้าน
-  ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิ้ศษ
-  ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
-  รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ
- จากการสนทนา
- เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- เเกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
- เล่นเกมทายของหายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  

การวางเเผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กเเต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลี่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก

การนำไปประยุกต์ใช้
-  ได้รู้ถึงเทคนิคในการนำไปสอนในอนตคว่าควรทำนึงถึงอะไรบ้าง
-  รู้จักการพูดเสริมแรงที่ดีให้เด็ก
-  จัดหากิจกรรมที่ส่งเสริมเด็กให้ครบทุกด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

ประเมิน

ประเมินตนเอง   เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและจดบันทึกเนื้อหาที่อาจารย์สอน ทำความเข้าใจเนื้อหาตามไปด้วย
ประเมินเพื่อน   เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและจดบันทึก เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการฝึกร้องเพลงในห้อง และสนุกสนานควบคู่
ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย มีเนื้อหาในการนำมาสอนที่พอดีและสามารถเข้าใจง่าย





บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วันอังคาร ที่ 31 มีนาคม 2558



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  แต่อาจารย์ให้มาจัดอุปกรณ์ในการจัดงานกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์





บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10
วัน อังคาร ที่ 24 มีนาคม 2558


วันนี้เป็นวันสอบเก็บคะแนน



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9
วัน อังคาร ที่ 17 มีนาคม 2558



ก่อนเข้าสู่บทเรียน  อาจารย์นำเกมส์สนุกๆ  มาเล่นให้คลายเครียด  ก่อนเข้าสู่บทเรียน





การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ "

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด ( โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร )
- การกินอยู่
- การเข้าห้องน้ำ
- การเเต่งตัว
- กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน 
** ครูจะต้องช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเองได้มีอิสระ เพราะเด็กพิเศษไม่ค่อยมีอิสระในการช่วยเหลือตนเองมากนัก**

 การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนเเบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน หรือผู้ใหญ่  เพราะเด็กพิเศษส่วนมากอยากทำอะไรได้- - - ด้วยตนเองจึงเรียนรู้จากการเลียนเเบบ

 ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่เด็กพิเศษภาคภูมิใจในตนเองมากที่สุด
- เชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น ( ใจเเข็ง )
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้เเม้กระทั่งสิ่งเด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- " หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้ "ห้ามพูดคำนี้กับเด็กเด็ดขาด
ตัวอย่าง  เด็กพิเศษผูกรองเท้าอยู่ แล้วเพื่อนทั้งห้องเข้าเเถวรอ ครูต้องห้ามทิ้งเด็กไว้คนเดียว แต่ให้ใช้เเรงเสริมกับเด็กที่รอ  เช่นรอเพื่อนก่อนเพื่อนใส่ใกล้เสร็จแล้วเหลือนิดเดียวเอง

จะช่วยเมื่อไร
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้  เเต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- เเบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
- เรียงลำดับตามขั้นตอน


การย่อยงานของเด็ก   " การเข้าส้วม"

  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระลงในตะกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม

การวางเเผนทีละขั้น
- เเยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป
- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ย่อยงานเเต่ละอย่างเป้นขั้นๆ
- ความสำเร็จชั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
- ช่วยให้เด็กมีความั่นใจในตนเอง
- เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ



กิจกรรมในวันนี้  สีสันบอกนิสัย



การนำไปประยุกต์ใช้

-  เปิดโอกาศให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง
-  น้ำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในอนาคต
-  การใช้คำพูดกับเด็ก คำพูดที่ใช้ในการเสริมเเรง ควรพูดในประมาณไหนที่จะเหมาะสม
-  เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่

ประเมิน
ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียนและจดบันทึกเนื้อหาที่อาจารย์อธิบาย และทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่จด และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน
ประเมินเพื่อน   เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียนและจดบันทึก ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามควบคู้กับเสียงหัวเราะ  สนุกสนานในการร่วมมือกันทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ให้ความสนใจแนะให้คำแนะนำกับนักศึกษา  อาจารย์สอนได้เข้าใจ และสนุกสนาน มีเนื้อหาพอดีค่ะ






วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8 
วัน อังคารที่ 10 มีนาคม 2558



การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหมเด็กส่วนมากจะมีคำศัพท์เฉพาะตัวของเด็ก )

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น เช่น หนังสือ จะออกเสียงว่า  สือ
  • การใช้เสียงหนึ่งเเทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง (เด็กอนุบาลส่วนมากจะพูดติดอ่าง เเต่มันเป็นเรื่องปกติ พอเริ่มโตขึ้นเดี๋ยวก็จะหายไปเอง )

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด 
  • ห้ามบอกเด็กว่า พูดช้าๆ ตามสบาย  คิดก่อนพูด
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐาน
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การเเสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
  • **เด็กปกติเน้น 4 ด้าน ฟัง พูด  อ่าน  เขียน   ส่วนเด็กพิเศษเน้น => การรับรู้ภาษา และการเเสดงออกทางภาษา**

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการเเสดงออกทางภาษา (ครูต้องเข้าใจภาษาเด็ก)
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด (กิริยาท่าทาง)
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ ( ชี้เเนะหากจำเป็น )
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว ( ครูไม่พูดมากเกินไป )
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง ( ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า )
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์ 
>> เป็นกิจกรรมที่เหมาะใช้กับเด็กพิเศษ และครูสามารถจะเดินเข้าไปถาม หรือคอยช่วยเหลือเมื่อเด็กทำเองไม่ได้จริงๆ เช่น
1.เข้าไปถาม  ทำอะไรค่ะ 
2.เข้าไปถาม   หนูจะใส่ผ้ากันเปื้อนใช่ไหม
3.เข้าไปถาม   ครูใส่ผ้ากันเปื้อนให้หนูนะ
4.ลองพูดตามครูสิ  ผ้ากันเปื้อน
5.สวมผ้ากันเปื้อนให้เด็ก


ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษาในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง
ตอบ  - การเล่านิทาน
         - การใช้คำศัพท์
         - การร้องเพลง หรือกลอน
         - การใช้คำถามปลายเปิด
         - การให้เด็กบอกความต้องการของเด็ก
         - เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดตอบ

กิจกรรมดนตรีบำบัด

 ก่อนทำ


หลังทำ



ประเมินผลการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง  การเรียนในวันนี้ อาจจะเรียนไม่ค่อยเข้าใจ เพราะมีปริมาณคนเรียนมากทำให้ส่งเสียงดังมากจากการคุยกันของเพื่อน เนื่องจากมีเพื่อนอีกเซคมาร่วมเรียนด้วย แต่ก็ตั้งใจฟังเสียงของอาจารย์และจดบันทึกเนื้อหา
ประเมินเพื่อน  การเรียนในวันนี้  เพื่อนๆส่งเสียงดังเนื่องจากที่ปริมาณก็เยอะจึงทำให้เกิดเสียงดัง  แต่เพื่อนๆ ก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเนื้อหา
ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา มีเนื้อหาในการสอนที่พอดีและมีกิจกรรมให้เล่นคลายเครียดก่อนนำเข้าสู่บทเรียน  สอนสนุกมากค่ะ