วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

                                                บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

                                           วันอังคาร ที่ 3 มีนาคม 2558 


กิจกรรมก่อนเรียน



หลังเรียน

                 ให้เด็กจับคู่กัน แล้วให้กำหนดว่าใครจะเป็น เส้น หรือ จุด และอาจารย์ก็เปิดเพลงโดยให้คนที่เป็นเส้น ขีดเส้นไปตามจังหวะของเพลง ส่วนคนที่เป็น จุด ก็ให้ จุดในตำแหน่งที่มีวงกลม จะเป็นจุด เล็ก หรือ ใหญ่ ก็ฟังจากทำนองเพลง แล้วจุดลงไป ทำไปพร้อมๆ กัน





การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม
  • เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
  • การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
*ดังนั้น สภาพแวดล้อมไม่จำเป็นต้องเน้นมาก เพราะไม่มีผลต่อเด็ก (ควรปรับที่ตัวเด็กมากกว่า)

กิจกรรมการเล่น
  • การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  • เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  • ในช่วงแรกๆ  เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน เเต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
  • เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  • ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ (สำคัญ)
  • จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  • ครูจดบันทึก
  • ทำแผน IEP ครูต้องรู้จักเด็กคนนั้นอย่างแท้จริงจึงจะเขียนได้
การกระตุ้นการเลียนเเบบและการเอาอย่าง
  • วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆ อย่าง
  • คำนึงถึงเด็กทุกคน
  • ให้เล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน (การจับกลุ่มที่เหมาะสมควรมีเด็กพิเศษ 1 คน  ต่อเด็กปกติ 3 คน )
  • เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน"ครู" ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  • อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  • ยิ้มและพยักหน้าให้ เมื่อเด็กหันมาหาครู
  • ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  • เอาวัสดุอุปรกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาในการเล่น (การเอาของให้เด็กเล่น ควรให้จำนวนของครึ่งหนึ่ง ต่อเด็ก ตัวอย่างเช่น จำนวนเด็ก 4 คน ควรให้อุปกรณ์ ตักดิน ตักทราย 2 อัน  )
  • ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม




การให้เเรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  • ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  • ทำโดย"การพูดนำของครู"
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  • ไม่ง่ายเลยสำหรับเด็กพิเศษ
  • การให้โอกาสเด็ก
  • เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  • ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
*วามรู้เพิ่มเติม
  • เมื่อเด็กพิเศษเล่นของเล่นไม่เป็น ครูต้องช่วยประครองมือเด็กก่อน  จากนั้นเด็กก็จะเริ่มทำได้เอง
  • สร้างกฎกติกาในการเล่นของเล่นด้วยกัน
  • ปรัชญาการเรียนรวม"คือความเท่าเทียม"
  • ห้ามอ้างอภิสิทธิเด็กพิเศษเหนือกว่าเด็กปกติ
  • การบอกบทใช้กับเด็กพิเศษ เช่น ครูตั้งคำถามขึ้นมา และ ครูต้องตอบคำถามนั้นเอง

การประเมิน
ประเมินตนเอง   เเต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ชอบกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้เล่นมากคะ สนุกมาก 

ประเมินเพื่อน  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนพร้อมจดบันทึก และตั้งใจทำกิจกรรม อย่างสนุกสนานกัน เพื่อนชอบกิจกรรมที่อาจารย์นำมา

ประเมินอาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นกันเอง เนื้อหาในการนำมาสอนไม่มากเกินไป ทำให้เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

                                                บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

                                       วันอังคาร ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 

             ไม่มีการเรียนการสอน มีการเซอร์ไพร์วันคล้ายวันเกิดของอาจารย์ กลุ่มของพวกเราก็มีของขวัญวันเกิดมอบให้อาจารย์ค่ะ









บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

                                               บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

                                        วันอังคาร ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 



 กิจกรรม สเก็ตภาพจากมือ
 โดยการใส่ถุงมือในมือข้างที่เราจะทำการสเก็ต และทำการสเก็ตมือของเรา เพื่อทดสอบความจำของเรา ในการจดจำมือของตนเอง



                    จากกิจกรรมนี้   เป็นการเปรียบเทียบทำให้ทราบถึงการสังเกตพฤติการของเด็ก หากสังเกตเห็นเด็กมีพฤติกรรมควรจดพฤติกรรมของเด็กตอนนั้นเลย ไม่ควรเก็บไปจดบันทึกทีหลัง เพราะจะทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน ไปจากความจริง ครูควรมีสมุดโน๊ตเล็กๆ ไว้พกติดตัวเพื่อความสะดวกในการบันทึกข้อมูล

หัวข้อเรื่อง  การสอนเด็กพิเศษเเละเด็กปกติ

ทักษะของครูและทัศนคติ  ( ครูควรมองเด็กให้เท่าเทียมกัน )

การฝึกเพิ่มเติมในการสอนเด็กพิเศษ
  • อบรมระยะสั้น หรือ สัมมนา 
  • สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ครู
การเข้าใจภาวะปกติ
  • เด็มักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่างกัน
  • ครูมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษเท่ากัน
  • รู้จักแต่เเต่ละคน (ควรจำชื่อจริง ชื่อเล่นเด็กให้ได้ทุกคน)
  • มองเด็กให้เป็น"เด็ก"
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
     
           การเข้าใจพัฒนาการเด็กช่วยให้ ครูเข้าใจความเเตกต่างของเด็กแต่ละคนได้





ความพร้อมของเด็ก
  • วุฒิภาวะ
  • เเรงจูงใจ
  • โอกาส  
การสอนโดยบังเอิญ
  • ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
  • เมื่อเด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
  • ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
  • ครูต้องมีความสนใจเด็ก
  • ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
  • ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมที่ล่อใจเด็ก
  • ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
  • ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
  • ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนานเด็กอยู่ด้วยจะได้สบายใจ
อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่ายๆ
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
  • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ทัศนคติของครู


1. ความยืดหยุ่น
  • การเเก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็กได้
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน ข้อนี้สำคัญมาก!
2. การใช้สหวิทยาการ
  • ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลอาชีพอื่นๆ
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
3.  เด็กทุกคนสอนได้
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ ครูไม่ควรมองเด็กแบบข้อนี้!
  • เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
4.  วิธีแสดงออกจากเเรงเสริมของผู้ใหญ่
  • ตอบสนองด้วยวาจา เช่น คำชมต่างๆ
  • การยืนหรือการนั่งใกล้เด็ก
  • พยักหน้ารับ ยิ้ม  ฟัง
  • สัมผัสทางกาย
  • ให้ความช่วยเหลือ  ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้





เทคนิคการให้แรงเสริม

เเรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
  • ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
  • มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
  • หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆ ก็จะลดลงและหายไป
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  • ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมอันพึงประสงค์
  • ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
  • ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท(prompting)
  • ย่อยงาน
  • ลำดับความยากง่ายของงาน
  • การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
  • การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • วิเคราะห์งาน  กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
  • สอนจากง่ายไปยาก
  • ให้เเรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเพื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
  • ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวในขั้นต่อไป
  • ให้เเรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ไกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
  • ทีละขั้นไม่เร่งรัด"ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น" 
  • ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
  • จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
  • พฤติกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน
  • เช่น การเข้าห้องน้ำ  การนอนพักผ่อน  การหยิบและเก็บของ
  • สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
  • ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
  • ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
  • เอาอุปกรณ์หรือของเล่นของไปจากเด็ก
  • เอาเด็กออกจากการเล่น
ความคงเส้นคงวา
เปิดเทอมสอนเด็กอย่างไร ก็สอนแบบนั้น!



ประเมินผลการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง  เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมจากอาจารย์ มีแอบง่วงบ่างนิดหน่อย  

ประเมินเพื่อน  แต่กายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนพร้อมจดเนื้อหาอย่างตั้งใจ ช่วยกันตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม

ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีเทคนิคการสอนอย่างเข้าใจง่ายและสนุกสนานควบคู่กัน เนื้อหาในการสอนพอดีคะ ไม่มากไม่น้อยเกินไป