วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

                                             บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
                                   วันอังคาร ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 



                                         วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

                                              บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3 
                                      วันอังคาร ที่ 27 มกราคม 2558



 ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้มีกิจกรรม และเนื้อหา เรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวมและการร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย


 กิจกรรม 
      วาดภาพดอกทานตะวันตามแบบที่กำหนดมาให้เหมือนที่สุด และให้บรรยายสิ่งที่เห็นในภาพ



                                                     ผลงานของฉัน





                       
ครูไม่ควรวินิจฉัย
                   -  การวินิจฉัย หมายถึง  การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง 
                   -  จากอาการที่แสดงออกมานั้น อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้


                     
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก

               -  เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
               -  ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
               -  เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

                          
ครูไม่ควรบอก พ่อแม่ ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

                -  พ่อแม่ ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเค้ามีปัญหา
                -  พ่อแม่ ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
                -  ครู ควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวัง ในด้านบวก แตาต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
                -  ครู ควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
                -  ครู ช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวัง และเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

                                 
ครูทำอะไรบ้าง

                 -  ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
                 -  ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสม ในการประเมินผลหรือวิจัย
                 -  สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
                 -  จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ


สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
                -  ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบ ได้ดีกว่าครู และบันทึก
                -  ครูเห็นเด็กในสถานะการต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
                -  ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา


การตรวจสอบ
               -  จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
               -  เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและ พ่อแม่ เข้าใจเด็กดีขึ้น
               -  บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ







                 
ข้อควรระวังในการปฎิบัติ
             -  ครูต้องไวต่อความรู้สึก และตัดสินใจล่วงหน้าได้ 
             -  ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆ ได้
             -  พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป


การบันทึกการสังเกต
            -  การนับอย่างง่ายๆ
            -  การบันทึกต่อเนื่อง
            -  การบันทึกไม่ต่อเนื่อง


การนับอย่างง่ายๆ (ชอบใช้ในการสังเกตเด็กพิเศษ)
            -  นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
            -  กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
            -  ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม


การบันทึกต่อเนื่อง
           -  ให้ลายละเอียดได้มาก
           -  เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
           -  โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
           -  ทำให้ครูได้ข้อมูลมากที่สุด
           -  บันทึกตามสภาพจริงของเด็ก
           -  บันทึกหมดทุกอย่างที่เด็กพูด


การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
           -  บันทึกบนบัตรเล็กๆ
           -  เป็นการบันทึกสั้นๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
           -  สามารถให้ครูพี่เลี้ยงบันทึกก็ได้


การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
           -  ควรอาใจใส่ถึงระดับความมาก น้อย บกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
           -  พฤติกรรมไม่เหมาะสม ที่พบได้ในเด็กทุกคนไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ


การตัดสินใจ
          -  ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
          -  พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

                                               
กิจกรรมร้องเพลงเด็กปฐมวัย




ประเมินผลการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย และสนุกสนานกับการเรียนมากคะ ได้วาดรูปดอกทานตะวันที่คิดว่าตัวเองจะสามารถวาดออกมาให้ได้เหมือนมากที่สุด ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินเพื่อน   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงาน เพื่อนๆ มีความสุขกับการวาดรูป ดอกทานตะวัน มีเสียงหัวเราะขณะทำงาน ทำให้ไม่เครียด
ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา เนื้อหาการสอนไม่น่าเบื่อ เทคนิคการสอนทำให้นักศึกษาเข้าใจง่าย ไม่เครียด ทุ่มเทกับการสอนนักศึกษา 







บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

                                                  บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 
                                         วันอังคาร ที่ 20 มกราคม 2558



                การเรียนในวันนี้จะเป็นการเรียนแบบบรรยายเนื้อหา ที่เกี่ยวกับเรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษา

                                     
รูปแบบการจัดการศึกษา 

                    -  การศึกษาปกติทั่วไป  (Regular Education)
                    -  การศึกษาพิเศษ (Special Education)
                    -  การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
                    -  การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)

      
                                                                                                      
ความหหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม

                   -  การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
                   -  มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
                   -  ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
                   -  ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

                                         
 การเรียนร่วมบางเวลา

                -  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
                 -  เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
                 -  เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก

                   
 การเรียนร่วมตามเวลา 

               -  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
               -  เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
               -  เพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกัน
               -  เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์

                                               
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

       -  การศึกษาสำหรับทุกคน
       -  รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
       -  จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละคน


                               
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

           -  เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติโดยรับเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
           -  เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเรา
           -  เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่าการศึกษาสำหรับทุกคน
           -  การเรียนรวมเป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด้กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติหรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
           -  เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
           -  เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสมและดำเนินการเรียนในลักษณ์ '' รวมกัน '' ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
          -  ทุกคนยอมรับว่ามีผู้พิการอยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก

                     

ประเมินผลการเรียนการสอน

      ประเมินตนเอง   แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและจดบันทึกข้อมูลที่สำคัญ และให้ความร่วมมือในการร้องเพลงร่วมกับเพื่อนๆ
      ประเมินเพื่อน   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรีบยร้อย ตั้งใจเรียนและจดบันทึกข้อมูล ตอบคำถามอาจารย์ และให้ความร่วมมือในการร้องเพลงเป็นอย่างดี และสนุกสนาน
      ประเมินอาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เนื้อหาในการสอนเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างให้ นักศึกษาดูเพื่อให้เห็นภาพยิ่งขึ้น